การทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดินที่ได้มาตรฐาน ควรทำอย่างไร

การทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดินที่ได้มาตรฐาน ควรทำอย่างไร?

คำถาม : พอดีต้องการทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดิน ที่เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบกราวด์ของทั่วโลก จากที่อ่านข้อมูลจาก websites ต่างประเทศ และข้อมูลจากหลายๆ บริษัท จะต่อกราวด์ของทุกระบบเข้าที่ Building Ground ที่เดียว โดยเน้นว่าต้องเป็นกราวด์จุดเดียว Common Grounding Electrode for All System Grounding in or at a Building, it’s a must. ไม่ว่าจะเป็น กราวด์ของระบบแอร์ ระบบโทรศัพท์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบ UPS etc… โดยให้เหตุผลว่า

1. ถ้ามี Ground หลายอัน จะเกิดกราวด์ลูป, กราวด์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงกราวด์ของระบบฟ้าผ่า ควรรวมเป็นจุดเดียวกัน ที่ Building Ground เป็น Common Ground. – การ jump กราวด์ เข้ากับ neutral มากกว่า 1 จุด ก็จะทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน
2. ถ้ามีฟ้าผ่า แล้วมี ground หลายจุด จะเกิดความต่างศักย์ระหว่าง Ground Rod ทำให้เกิดอันตรายมากๆ จึงกำหนดว่าต้องต่อร่วมกัน Must be connected to the same Earth/Ground electrode system. If separated, there will be gradient between two grounding systems which could lead to flashover or even electric shock.
แต่ บจก.สตาบิล นั้น กราวด์ฟ้าผ่าและกราวด์ของระบบไฟฟ้าแยกจากกัน จะกลับกันกับ 2 ข้อข้างบน ไม่ทราบมีเหตุผลมาหักล้างสองข้อข้างบนอย่างไร

คำตอบ :

1. ระบบกราวด์แบบกราวด์ลึก ซึ่งมีความลึกตั้งแต่ 12 เมตรขึ้นไป ที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้นำเสนอนั้น ได้ระบุให้มีการแยกแท่งกราวด์ระบบ ( SG ) ออกจากแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) อย่างชัดเจน แต่จริงๆ แล้วเมื่อมองให้ลึกเข้าไปถึงการเชื่อมต่อกันทางวงจรไฟฟ้า การทำกราวด์แบบกราวด์ลึกจะมีการเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้าเช่นเดียวกับการทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไป ที่ใช้หลักการของการทำให้เกิด Equip Potential หรือ Same Potential เพื่อไม่ให้เกิดความต่างศักย์ขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งของระบบกราวด์ไฟฟ้าในขณะที่เกิดฟ้าผ่า หรือไฟกระโชก จึงทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบนั้นได้รับความปลอดภัย เพียงแต่การทำกราวด์แบบ บจก. สตาบิล นั้น จะไม่มีการทำ Equip Potential ของแท่งกราวด์ระบบ ( SG ) กับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) ที่ระดับผิวดิน แต่จะไปทำการ Equip Potential ที่ Common Earth หรือจุดศูนย์ร่วมของดินแทน

2. การทำให้เกิด Equip Potential คือการนำจุดเชื่อมต่อกราวด์ต่างๆ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเสมือนให้เป็นจุดๆเดียว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดความต่างศักย์กันทางไฟฟ้าเมื่อมีกระแสฟ้าผ่า หรือกระแสไฟกระโชกขึ้นในระบบฯ ดังนั้นการทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไปจึงระบุให้ต้องทำการเชื่อมต่อระบบกราวด์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น กราวด์ฟ้าผ่า กราวด์ระบบ กราวด์ไฟฟ้าสื่อสาร หรืออื่นๆ และให้เชื่อมต่อเข้ากันกับแท่งกราวด์และโครงสร้างอาคาร ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการ Equip Potential หรือ Same Potential นั่นเอง

3. การทำกราวด์แบบ บจก.สตาบิล นั้น เป็นการทำกราวด์แบบกราวด์ลึกซึ่งจะกำหนดค่าความต้านทานดินของแท่งกราวด์แบบแท่งกราวด์เดี่ยว ให้มีค่าเข้าใกล้ 0 โอห์มมากที่สุด ดังนั้นค่า คตท ดินของแท่งกราวด์ที่วัดได้จึงเป็นค่า คตท ดินของแท่งกราวด์เดี่ยวเทียบกับ Common Earth ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนว่า แท่งกราวด์ระบบ ( SG ) กับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) นั้นได้ถูกเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้า และเกิดการ Equip Potential ณ ที่จุด Common Earth นี้เอง
จากประสบการณ์การที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้จากติดตั้งและปรับปรุงระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและระบบสายดินมามากกว่า 26 ปีที่ผ่านมาพบว่า การทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไปนั้น แม้ว่าค่า คตท ดินรวมของแท่งกราวด์จะต่ำและมีการทำ Equip Potential ของระบบกราวด์ที่ระดับผิวดินแล้วก็ตาม แต่ระบบฯ ก็ยังคงได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกอยู่เป็นจำนวนมาก บริษัทฯ จึงได้ทำการปรับปรุงโดยการติดตั้งระบบกราวด์แบบกราวด์ลึกเป็นการทดแทน และพบว่าระบบไฟฟ้าที่เคยเกิดปัญหานั้น มีเสถียรภาพการทำงานที่ดีขึ้นและไม่ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกที่เคยเกิดขึ้นอีกเลย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกที่อาจเกิดขึ้นกับท่าน การทำกราวด์แบบกราวด์ลึกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทำกราวด์ที่น่าสนใจและให้ผลคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก

Posted in faq
กลับสู่ด้านบน