ค่า Maximum continuous operation voltage (Uc) ของอุปกรณ์ SPD ควรมีค่ายิ่งสูงยิ่งดีจริงหรือ ?

ค่า Maximum continuous operating voltage (Uc) ของอุปกรณ์ SPD

มีความหมายว่าอย่างไร ?  มีค่ายิ่งสูงยิ่งดีจริงหรือ ?

 

  • ค่า Maximum continuous operating voltage ของอุปกรณ์ SPD ( Surge Protective Device ) คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าปกติสูงสุด

 

  • ที่อุปกรณ์ SPD จะไม่ทำงาน ( ไม่ทำการป้องกัน ) เพราะยังคงเห็นว่าเป็นแรงดันไฟฟ้าปกติอยู่  ตัวอย่างเช่น

 

1.อุปกรณ์ SPD รุ่น ABC มีค่าแรงดันไฟฟ้าปกติเฉลี่ย ( Un ) ที่ 220 Volt และมีค่าแรงดันไฟฟ้าปกติสูงสุด ( Uc )ที่ 275 Volt

จะมีความหมายว่า อุปกรณ์ SPD รุ่น ABC นี้สามารถต่อใช้งานกับแรงดันไฟฟ้าของการไฟฟ้า Line Voltage 230 Volt ได้และจะไม่ทำงาน ( ไม่ทำการป้องกัน ) จนกว่าแรงดันไฟฟ้าของการไฟฟ้า Line Voltage จะมีค่าสูงมากกว่า 275 Volt หรือ มีแรงดันไฟฟ้าจากภายนอก เช่น แรงดันฟ้าผ่า เป็นต้น เหนี่ยวนำเข้ามาในระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า ทำให้ Line Voltage มีค่าสูงมากกว่า 275 Volt อุปกรณ์ SPD รุ่น ABC จึงจะทำงานหรือทำการป้องกัน ( เมื่อมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 275 Volt ตกคล่อมที่อุปกรณ์ SPD รุ่น ABC นี้ )

 

2. อุปกรณ์ SPD รุ่น XYZ มีค่าแรงดันไฟฟ้าปกติเฉลี่ย ( Un ) ที่ 240 Volt และมีค่าแรงดันไฟฟ้าปกติสูงสุด ( Uc ) ที่ 500 Volt จะมีความหมายว่า อุปกรณ์ SPD รุ่น XYZ นี้สามารถต่อใช้งานกับแรงดันไฟฟ้าของการไฟฟ้า Line Voltage 230 Volt ได้และจะไม่ทำงาน

( ไม่ทำการป้องกัน ) จนกว่าแรงดันไฟฟ้าของการไฟฟ้า Line Voltage จะมีค่าสูงมากกว่า 500 Volt หรือ มีแรงดันไฟฟ้าจากภายนอก เช่น แรงดันฟ้าผ่า เป็นต้น  เหนี่ยวนำเข้ามาในระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า ทำให้ Line Voltage มีค่าสูงมากกว่า 500 Volt อุปกรณ์ SPD รุ่น XYZ จึงจะทำงานหรือทำการป้องกัน ( เมื่อมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 500 Volt ตกคล่อมที่อุปกรณ์ SPD   รุ่น XYZ นี้ )

 

ในกรณีติดตั้งอุปกรณ์ SPD ทั้งสองรุ่นกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า 230 Volt จะมีคุณสมบัติในการทำงาน หรือการป้องกันไฟกระโชก ( Surge ) ที่แตกต่างกันดังนี้คือ

เมื่อมีไฟกระโชก ( Surge )  คือมีแรงดันไฟฟ้าสูงผิดปกติเกิดขึ้น เช่น 420 Volt เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า

 

  • อุปกรณ์ SPD รุ่น ABC จะเห็นว่าแรงดันไฟฟ้า 420 Volt นี้ เป็นแรงดันไฟฟ้าสูงผิดปกติ เนื่องจากค่าแรงดันไฟฟ้าปกติสูงสุด ( Uc ) มีค่าที่ 275 Volt ดังนั้นอุปกรณ์ SPD รุ่น ABC จะทำงาน คือทำการป้องกันไม่ให้แรงดัน 420 Volt นี้ หลุดเข้าไปที่ Loads ทำให้ Loads ต่างๆ ได้รับการป้องกัน จากแรงดันไฟฟ้าผิดปกติ 420 Volt นี้

 

  • ส่วนอุปกรณ์ SPD รุ่น XYZ จะเห็นว่าแรงดันไฟฟ้า 420 Volt นี้ ยังคงเป็นแรงดันไฟฟ้าปกติ  เนื่องจากค่าแรงดันไฟฟ้าปกติสูงสุด ( Uc ) มีค่าที่ 500 Volt ดังนั้นอุปกรณ์ SPD รุ่น XYZ จะไม่ทำงาน ( ไม่ทำการป้องกัน ) ดังนั้นแรงดันไฟฟ้า 420 Volt นี้ ก็จะหลุดเข้าไปที่ Loads  ( นั่นหมายความว่า Loads ต่างๆ ไม่ได้รับการป้องกัน ) ซึ่ง Loads เหล่านั้นจะได้รับความเสียหายหรือไม่นั้น  ก็ขึ้นอยู่กับความเปราะบางของ  Loads ต่าง ๆ เหล่านั้น นั่นเอง

 

ดังนั้นเราจึงควรเลือกใช้อุปกรณ์ SPD ที่มีค่า Uc ที่เหมาะสมไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป  ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของ Loads

Posted in faq

ระยะเวลาการทำงาน SPD ที่รวดเร็วและทำให้ Load ปลอดภัยหรือไม่ ?

คำถามจากลูกค้า : ช่วงการเกิด surge เอาตัว SPD ไปต่อ ขนาน เท่ากับว่าแรงดัน ตกคร่อมขณะนั้น เท่ากันหมด (แรงดันสูง 1000-6000 volt) แม้ว่ากระแสส่วนใหญ่จะไหลไปทาง SPD แต่แรงดันในวงจรขนานมันเท่ากันหมด ดังนั้น แรงดันที่ตกคร่อม โหลดกับแหล่งจ่ายไฟ ก็น่าจะเท่ากัน คำถามคือ โหลดกับแหล่งจ่าย จะทนแรงดันตรงนี้ได้มั้ยครับ เข้าใจว่าแรงดันจะลดลงเนื่อง transient ไม่ได้ลดลงเนื่องจาก SPD

คำตอบ : ระยะเวลาในการเกิด surge จะมีระยะเวลาเศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที และตัว SPD มี response time ที่รวดเร็วมากคือน้อยกว่า 25 nSec. มีค่าแรงดันปล่อยผ่านไปยัง load น้อยกว่า 1.5 kv ซึ่งโหลดโดยส่วนใหญ่จะยังคงปลอดภัยครับ

Posted in faq

ทำไมเครื่องวัดพลังงาน (kWh meter) ไม่ได้รับผลกระทบจากไฟกระโชก?

KWh meter ส่วนใหญ่มี 2 ประเภท

 

1) แบบ Analog meter ประเภทนี้ คือ Copper Coil และ CT ด้านใน แข็งแรงมาก ทนต่อไฟกระโชก CT ใช้สำหรับเหนี่ยวนำกระแสไฟ ไม่เกิดผลกระทบจากไฟกระโชกโดยตรง

2) แบบ Digital meter (TOU meter) ชนิดนี้เป็นส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ภายใน และส่วนมากเสียหายจากไฟกระโชก และต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก เพื่อป้องกันตัวเครื่อง

Posted in faq

น้ำท่วมขังในบ่อกราวด์ได้หรือไม่ และจะมีอันตรายอะไรไหม ?

เราสามารถพบเจอกรณีน้ำท่วมขังในบ่อกราวด์ได้ค่อนข้างบ่อยซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากอะไรบ้าง :

  • หน้าฝนมีฝนตกชุกทำให้น้ำฝนไหลเข้าไปขังในบ่อกราวด์
  • อยู่ใกล้ท่อระบายน้ำทำให้มีน้ำไหลซึมเข้าไปขังในบ่อกราวด์
  • ระดับน้ำในดินสูงทำให้มีน้ำซึมเข้าไปขังในบ่อกราวด์
  • มีตาน้ำใต้ดินทำให้มีน้ำซึมเข้าไปขังในบ่อกราวด์
  • จากสาเหตุอื่นๆ

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแท่งกราวด์จะมีหน้าที่ระบายความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าลงดิน ทำให้เกิดความปลอดภัย กับทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า และผู้ปฎิบัติงานในพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากค่าความต้านทานดินของแท่งกราวด์ที่ต่ำทำให้กระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติไหลผ่านแท่งกราวด์ลงดินได้ดี ทำให้ไม่เกิดแรงดันไฟฟ้าที่แท่งกราวด์สูงจนเกินไป จนทำให้เกิดเป็นอันตรายได้ ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้แท่งกราวด์มีค่าความต้านทานดินที่ต่ำ ก็คือความชื้นในดินซึ่งเกิดจากน้ำนั่นเอง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่มีน้ำขังในบ่อกราวด์กลับมีผลดีในแง่การนำกระแสไฟฟ้าลงดินได้ดี ซึ่งแท่งกราวด์ของ สตาบิล เป็นกราวด์แบบกราวด์ลึก (ลึกประมาณ 30 เมตร) โดยแท่งกราวด์จะทำจากแท่ง Stainless steel ทนต่อการกัดกร่อน จุดเชื่อมต่อเป็นแบบ Exothermic welding (หลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน) และทาทับด้วยสีกันสนิม อีกทั้งสายกราวด์เป็นสายทองแดง THW หุ้มฉนวน จึงทำให้คงทนต่อการกัดกร่อนโดยไม่มีปัญหาใดๆ ในการที่จะแช่อยูในน้ำเป็นเวลานาน   ซึ่งขณะการตรวจวัดค่า ความต้านทานดินของแท่งกราวด์จะต้องทำการวิดน้ำออกบ่อกราวด์ให้แห้งก่อน

 

 

Posted in faq

ระบบป้องกันฟ้าผ่าที่ดีควรเป็นอย่างไร

ระบบป้องกันฟ้าผ่าที่ดีควรเป็นอย่างไร
คำตอบ : ระบบป้องกันฟ้าผ่ามีส่วนประกอบที่สำคัญๆ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1. หัวล่อฟ้า ( Air-terminal )
2. ตัวนำลงดิน ( Down Conductor/Down Lead )
3. แท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( Lightning Ground )

1. หัวล่อฟ้า ( Air-terminal ) ในกรณีที่เกิดฟ้าผ่าขึ้นหัวล่อฟ้าจะเป็นตำแหน่งที่เราต้องการให้ฟ้ามาผ่าลง ดังนั้นหัวล่อฟ้าจึงควรติดอยู่ในตำแหน่งที่สูงสุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เช่น อยู่เหนือจากจุดที่สูงที่สุดของอาคาร ( เสาอากาศทีวี, เสาอากาศวิทยุ, แท๊งค์น้ำ ฯลฯ ) ขึ้นไปอย่างน้อย 2 เมตร (ตามมาตรฐานของบริษัทสตาบิล) ตัวหัวล่อฟ้าควรทำด้วยโลหะที่มีคุณสมบัติการเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทนต่อการหลอมละลาย เช่น แท่งทองแดง แท่งสเตนเลส แท่งทองแดงชุบดีบุก แท่งเหล็ก หรือวัสดุตัวนำอื่นๆ ซึ่งการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ สามารถพิจารณาได้จากพื้นที่ที่ติดตั้ง เช่น กรณีอยู่ใกล้ทะเลควรใช้วัสดุที่สามารถทนการกัดกร่อนได้ดี หรือพิจารณาจากงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นต้น การติดตั้งหัวล่อฟ้าจะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของหัวล่อฟ้าเชื่อมต่อกับตัวอาคาร ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากฟ้าผ่า ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวอาคารและระบบไฟฟ้าในอาคารของท่าน ตัวหัวล่อฟ้าควรมีลักษณะเป็นปลายแหลม เนื่องจากจะมีคุณสมบัติในการถ่ายเทประจุไฟฟ้าในอากาศได้ดี และควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3/8 นิ้ว ยาวไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว ( ตามมาตรฐาน UL96) ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรับกระแสฟ้าผ่าขนาดใหญ่ได้ดี

2. ตัวนำลงดิน ( Down Conductor/Down Lead ) ควรใช้สายตัวนำที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดี ทนต่อการหลอมละลาย เช่นสายไฟ THW, สายทองแดงเปลือย, สายเหล็ก หรือสายตัวนำอื่นๆ ขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 70 มม2.(ตามมาตรฐานของบริษัทสตาบิล) ซึ่งการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ สามารถพิจารณาได้จากพื้นที่ เช่นกรณีอยู่ใกล้ทะเลควรใช้วัสดุ ที่สามารถทนการกัดกร่อนได้ดี พิจารณาจากความยากง่ายในการติดตั้ง และจากงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นต้น การต่อลงดินควรหาแนวเดินสาย ( จากหัวล่อฟ้าจนถึงแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ) ที่สั้นที่สุดและเป็นแนวเส้นตรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อลดการเกิด Flash over เข้าบริเวณด้านข้างของอาคาร การต่อสายตัวนำลงดินควรใช้ Down-lead Support ชนิดลูกถ้วย Ceramic ในการยึดสาย ทั้งนี้เพื่อให้ระบบนำลงดิน แยกจากตัวอาคารได้อย่างแท้จริง

3. แท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( Lightning Ground ) ท่านสามารถดูได้จากกระทู้ก่อนหน้านี้ ในหัวข้อเรื่อง กราวด์ลึกมีหลักการทำงานอย่างไร ในปัจจุบันหัวล่อฟ้าที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น หัวล่อฟ้าแบบ Faraday, หัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission, หัวล่อฟ้าแบบ Radio Active, หัวล่อฟ้าแบบร่ม และหัวล่อฟ้าแบบอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งตามที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้กล่าวมาข้างต้น และจะขอแนะนำนั้น เป็นหัวล่อฟ้าแบบ Faraday ซึ่งหัวล่อฟ้าแบบ Faraday นี้ เป็นหัวล่อฟ้าแบบที่สามารถใช้งานได้ดี มีราคาถูก และเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายโดยทั่วไป มีมุมในการป้องกันฟ้าผ่าโดยเฉลี่ยประมาณ 45 องศา ( วัดจากปลายสุดของหัวล่อฟ้า ) จากประสบการณ์ของบริษัทสตาบิลที่ผ่านมาพบว่า การนำหัวล่อฟ้าแบบ Faraday มาต่อใช้งานร่วมกับระบบกราวด์ฟ้าผ่าแบบกราวด์ลึก จะทำให้ประสิทธิภาพและมุมในการป้องกันฟ้าผ่ามีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหัวล่อฟ้าจะสามารถถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างดินและประจุไฟฟ้าในอากาศผ่านแท่งกราวด์ฟ้าผ่าแบบกราวด์ลึกได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

การติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่า จุดเชื่อมต่อทุกจุด เช่น ระหว่างหัวล่อฟ้ากับสายตัวนำลงดิน และระหว่างสายตัวนำลงดินกับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า จะทำการเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมละลายเนื้อโลหะเข้าด้วยกัน ( Exothermic Welding ) ซึ่งการเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมละลายเนื้อโลหะเข้าด้วยกันนี้ จะทำให้การถ่ายเทกระแสฟ้าผ่า ซึ่งเป็นกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ในระยะเวลาอันสั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงทำให้การเกิดผลกระทบจากฟ้าผ่าต่อตัวอาคารและระบบไฟฟ้า ในอาคารของท่านลดน้อยไปด้วยเช่นกัน.

Posted in faq

Surge Protector ในรางปลั๊กไฟที่ขายทั่วไปป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

Surge Protector ในรางปลั๊กไฟที่ขายทั่วไปป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

คำตอบ : อุปกรณ์ Surge Protector ที่ติดตั้งในปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกทั่วไป สามารถใช้ป้องกันไฟกระโชกแบบพื้นฐานได้ คือเป็นไฟกระโชกแบบช่วงสั้นหรือที่เรียกว่า Transient แต่ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงยาว หรือที่เรียกว่า TOVs (Temporary Over Voltages) ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว คือการเกิดไฟกระโชกที่มีระยะเวลาการเกิดนานจาก mSec ถึง a few seconds ซึ่งอุปกรณ์ Surge Protector แบบทั่วไปไม่สามารถที่จะรองรับการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาวนี้ได้ และไฟกระโชกแบบช่วงยาวนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เปราะบางเสียหายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุด ท่านจึงควรเลือกใช้แต่อุปกรณ์ Surge Protector ที่มีคุณสมบัติสามารถป้องกันไฟกระโชกทั้งแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs ได้ในตัวเดียวกัน

Posted in faq

คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะพิจารณาในการเลือกซื้อมีอะไรบ้าง ?

คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะพิจารณาในการเลือกซื้อมีอะไรบ้าง ?

คำตอบ : คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อ มีดังนี้
1. ต้องมีความสามารถในการรับไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้
2. ความไวในการทำงานของตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Response Time ) จะต้องมีค่าน้อยกว่า 25 nSec.
3. จุดเริ่มทำงานของตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Clamping Voltage ) ควรอยู่ในระดับแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น อยู่ระหว่าง 256 และ 315 Volt, 50 Hz
4. ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ปรากฏที่โหลด ( Let Through Voltage ) ขณะที่อุปกรณ์ป้องกันกำลังรับไฟกระโชกอยู่ จะต้องมีค่าน้อยกว่า 1kv( Test at Transient 6KV / 3KA ) และ / หรือ มีค่าน้อยกว่า 285 VAC ( Test at TOVs 300 -600 VAC, 50 Hz / 10 – 20 A )

Posted in faq

เป็นที่ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission

เป็นที่ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission

คำถาม :จากประสบการณ์ในการขายอุปกรณ์ป้องกัน surge และฟ้าผ่าของบริษัท สตาบิล จำกัด คุณคิดว่าหัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission ESE สามารถทำงานได้ตามคำโฆษณาหรือไม่ เพราะราคาแต่งต่างกันหลายร้อยเท่า…คิดว่าผู้ซื้อควรเลือกระบบป้องกันแบบไหนจึงคุ้มกว่ากัน

คำตอบ : เท่าที่ทราบหัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission เป็นแบบที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้คิดค้นออกแบบ ซึ่งทางด้านวิชาการยังไม่เป็นที่ยอมรับในสากล โดยหลักการพื้นฐานแล้ว หัวล่อฟ้าต้องมีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี และต้องคงทนต่อการถูกกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อม เท่านี้ก็มากเกินพอแล้ว
ซึ่งบริษัทฯ มีความเห็นว่า ควรเลือกใช้แบบ Franklin Rod แล้วนำเงินส่วนต่างระหว่างหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission มาใช้ในส่วนของการทำระบบกราวด์ที่ดี ๆ น่าจะคุ้มค่า

Posted in faq

UPS สามารถป้องกันไฟกระโชก ได้หรือไม่ ?

UPS สามารถป้องกันไฟกระโชก ได้หรือไม่ ?

คำตอบ : หน้าที่หลักของ UPS คือสำรองไฟฟ้าให้กับระบบ กล่าวคือเมื่อไฟฟ้าดับ UPS จะทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าทันทีทันใดอย่างต่อเนื่องให้กับอุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่ออยู่ด้านหลังของ UPS เสมือนหนึ่งว่าไม่มีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเกิดขึ้น และเนื่องจากการติดตั้ง UPS เป็นการติดตั้งแบบอนุกรมกับระบบไฟฟ้า โดยมีอุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ต่ออยู่ด้านหลังของ UPS ดังนั้น เมื่อมีไฟกระโชกเข้ามาในระบบ ลำดับแรก ( ด่านแรก ) ที่จะถูกทำลายก่อนคือ UPS ลำดับต่อมาที่จะถูกทำลายคืออุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่ออยู่หลัง UPS จึงเป็นเหตุให้ผู้ใช้งานเข้าใจว่า UPS สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ ซึ่งไม่ถูกต้อง เช่น ในกรณีเกิดไฟกระโชกอย่างรุนแรงมาก ๆ หลังจากที่ UPS เสียหายแล้ว ความรุนแรงของไฟกระโชกอาจยังมีมากพอที่จะหลุดเข้ามาทำลายอุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่ออยู่ด้านหลังของ UPS ได้
หมายเหตุ : อุปกรณ์ Stabilizer , Voltage regulator, Line Conditioner ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ โดยมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับ UPS ดังกล่าวข้างต้น

Posted in faq

การเลือกซื้อขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ควรเลือกอย่างไร ?

การเลือกซื้อขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ควรเลือกอย่างไร ?

คำตอบ : เป็นคำถามที่ตอบยาก เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดไฟกระโชกเมื่อใด ? และมีขนาดเท่าไร ? แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก มีดังนี้คือ

1. สถานที่ที่อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกจะถูกนำมาติดตั้ง ว่าเป็นพื้นที่ล่อแหลมมากน้อยแค่ไหน เช่น อยู่บนเขาหรืออยู่บนพื้นที่โล่ง ก็ควรที่จะเลือกอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกขนาด 100KA at 8/20 µSec. แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ไม่ล่อแหลม ก็เลือกขนาด 40KA at 8/20 µSec. เป็นต้น

2. มูลค่าของอุปกรณ์โหลดต่าง ๆ ที่จะต้องป้องกัน รวมถึงมูลค่าทางอ้อม เช่น down time ด้วย ซึ่งเมื่อเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์โหลดต่าง ๆ แล้ว ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายหรือขาดรายรับเป็นจำนวนมาก ก็ต้องซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่มีคุณภาพสูง สามารถป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ด้วย เช่น Transient 100KA at 8/20 µSec. และ TOVs 10A 3 Sec. เป็นต้น

Posted in faq
กลับสู่ด้านบน