Lightning Protection and Grounding System

ถ้าจะป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าจะต้องรู้จักธรรมชาติ
ของฟ้าผ่าก่อน

ระบบสลายประจุฟ้าผ่า ล่อฟ้า รวมถึงการป้องกันอันตราย
จากฟ้าผ่า และระบบสายดินแบบกราวด์ลึก

ตัวอย่างงานที่ติดตั้ง หัวสลายประจุฟ้าผ่า SiDAT

การทดลอง จำลองการเกิดฟ้าผ่า ด้วย van de graaff generator

ระบบสลายประจุฟ้าผ่า ล่อฟ้า และสายดิน

          ระบบสลายประจุฟ้าผ่า ล่อฟ้า และสายดินแบบ GEPAC เป็นรูปแบบและวิธีการที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในสภาพพื้นที่ประเทศไทย โดยอาศัยหลักการของระบบล่อฟ้าแบบฟาราเดย์ทำงานร่วมกับตัวปล่อยประจุไฟฟ้าที่หัวล่อฟ้า SiDAT เพื่อสลายประจุฟ้าผ่าที่ก้อนเมฆ และผลจากสภาพของ Common Earth ของดินในประเทศไทย ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการปล่อยประจุไฟฟ้าจำนวนมากตามธรรมชาติที่ตำแหน่งหัวล่อฟ้า SiDAT ทำให้เกิดการถ่ายเทประจุฟ้าผ่าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน โดยผ่านทางหัวล่อฟ้า SiDAT อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้มีสภาพความสมดุลเป็นกลางเกิดขึ้น จึงส่งผลให้ไม่มีประจุฟ้าผ่าสะสมที่ก้อนเมฆมากพอที่จะทำให้เกิดฟ้าผ่า ณ บริเวณนั้น ซึ่งขอเรียกว่าเป็นขบวนการสลายประจุฟ้าผ่า คือทำให้ไม่เกิดฟ้าผ่าบริเวณนั้นนั่นเอง แต่ถ้าก้อนเมฆมีการก่อตัว และสะสมประจุฟ้าผ่าเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเกิดการถ่ายเทประจุฟ้าผ่าจากก้อนเมฆลงสู่พื้นดินอย่างทันทีทันใด ซึ่งก็คือการเกิดฟ้าผ่าที่หัวล่อฟ้าตามหลักการของระบบล่อฟ้าแบบฟาราเดย์นั่นเอง นอกจากนั่นยังรวมถึงหลักการในการทำให้เกิด Same Potential หรือ Equip Potential ของอุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร และแหล่งกำเนิดฟ้าผ่าทั้งหมดเข้าด้วยกันที่จุด Common Earth หรือจุดศูนย์ของดินตามหลักมาตรฐานสากล จึงเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและให้ความปลอดภัยสูงสุด เหมาะสมอย่างยิ่งในสภาพพื้นที่ประเทศไทย

 

กลับสู่ด้านบน