AC Line Surge Protector

Lightning Surge Arrester Surge Arrester
Lightning Impulse Arrester Surge Voltage Arrester

Products

Model : TC3M40W

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางสายไฟฟ้า
AC Line Surge Protector

1. อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางสายไฟฟ้า  เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่เหนี่ยวนำเข้ามาในระบบไฟฟ้าแรงต่ำ (TN-C-S System) แบบ 1 เฟส 2 สาย 230 Volt 50 Hz และ 3 เฟส 4 สาย 400/230 Volt 50 Hz อันเกิดจากฟ้าผ่า การลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า การปิดเปิดของเครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ และจากสาเหตุอื่นๆ ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ได้รับความเสียหาย รวมถึงผู้ปฎิบัติงานได้รับความปลอดภัยสูงสุด

2. เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ที่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ทั้ง 2 รูปแบบ ดังนี้
2.1 ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น (Transient) เช่น ไฟกระโชกรูปคลื่น 10/350 uSec เเละรูปคลื่น 8/20 uSec ตามมาตรฐาน IEC 61643-11-2011 และ ANSI / IEEE C62.41-1991
2.2 ไฟกระโชกแบบช่วงยาว (TOVs) เป็นไฟกระโชกที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่นการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า การ On-Off ของ Capacitor Bank ขนาดใหญ่ การปิดเปิดของเครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ เป็นต้น  โดยเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความเสียหายตามที่ได้ถูกกล่าวไว้ใน มาตรฐาน ANSI / IEEE C62.41.1-2002

3. สามารถควบคุมแรงดันไฟกระโชก ไม่ให้สูงเกินไปจนเป็นอันตราย โดยอุปกรณ์ป้องกันฯ จะดึงกระแสไฟกระโชกผ่านตัวอุปกรณ์ป้องกันฯ แล้วนำไปทิ้งลงดินผ่านทางแท่งกราวด์

4. อุปกรณ์หลักที่ทำหน้าที่ในการรับไฟกระโชกเป็นอุปกรณ์ Gas Discharge Tube (GDT) และ / หรือ Metal Oxide Varistor (MOV) ยี่ห้อ Epcos (ชื่อเดิมคือ Siemens) ซึ่งได้รับมาตรฐาน UL1449 และ CSA

5. อุปกรณ์ป้องกันฯ ไม่มีผลต่อการกินกระแสไฟฟ้าของโหลด เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ต่อขนานกับระบบไฟฟ้า ดังนั้นกรณีที่อุปกรณ์ป้องกันฯ ได้รับความเสียหาย จึงสามารถถอดซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ได้ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้นต่อโหลด กล่าวคือ โหลดต่าง ๆ ยังคงทำงานได้ตามปกติขณะตรวจซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันฯ

นวัตกรรมใหม่ล่าสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไฟกระโชกทีเ่กิดขึ้นในระบบไฟฟ้า โดยการพัฒนาให้สามารถรับทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น (Transient) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว (TOVs) ได้ในตัวเดียวกัน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ต่อใช้งาน ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นและยังเป็นเทคโนโลยีที่มีความสามารถในการป้องกันไฟกระโชกตามมาตรฐาน ANSI/IEEE C62.41.1-2002 ฉบับล่าสุดนี้ด้วย

ปัญหาต่างๆ ที่ปะปนเข้ามาหรือเหนี่ยวนำเข้ามาในระบบไฟฟ้า Sine Wave 220 Volt 50 Hz มีอะไรบ้าง? และตามมาตรฐานได้กำหนดคุณลักษณะของไฟกระโชกแบบช่วงสั้น (Transient) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว
(TOVs)เป็นอย่างไร

ไฟกระโชก ไฟกระชาก (Surge) เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุเช่น ฟ้าผ่า เป็นต้น ได้เหนี่ยวนำเข้ามาทำความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์ได้อย่างไร? และจะมีวิธีป้องกันอย่างไร?

การทำงานของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ทำงานอย่างไร? ทำไมถึงป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้ !

การทดลองให้เห็นจริง ในการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางสายไฟฟ้า 220 Volt 50 Hz

เสิร์จเนื่องจากวาบฟ้าผ่าลงระบบสาธารณูปโภค

กลับสู่ด้านบน