Surge Protector ในรางปลั๊กไฟมาใช้กับระบบไฟฟ้าในอาคารที่ไม่มีกราวด์จะทำหน้าที่ป้องกันได้หรือไม่?

ถ้านำ Surge Protector ในรางปลั๊กไฟที่ขายทั่วไป มาใช้กับระบบไฟฟ้าในอาคารที่ไม่มีกราวด์ (ปลั๊กไฟแบบเก่าที่มี 2 รู) เวลาเกิดไฟกระโชก ตัวอุปกรณ์ Surge Protector จะทำหน้าที่ป้องกันได้หรือไม่?

คำตอบ : เนื่องจากระบบไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นแบบ TN-C-S ซึ่งกำหนดให้มีการปักแท่งกราวด์ภายในบ้าน บริเวณตู้ MDB (ตู้เมนไฟ) และกำหนดให้ทำการเชื่อมต่อสายกราวด์กับสาย Neutral เข้าด้วยกัน (ที่ตู้ MDB เท่านั้น) จึงทำให้การนำปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกมาเสียบใช้งานกับปลั๊ก (ที่ผนังกำแพง) แบบ 2 รูที่ไม่มีกราวด์ หรือปลั๊กแบบ 3 รูที่มีกราวด์ ก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานเท่ากัน คือสามารถใช้งานในการป้องกันไฟกระโชกได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเมื่อเกิดไฟกระโชกขึ้น อุปกรณ์ป้องกันจะทำการดึงไฟกระโชกที่เกิดขึ้นจากสาย Line ผ่านตัวอุปกรณ์ฯ ส่งกลับไปยังสาย Neutral เพื่อลงกราวด์ที่แท่งกราวด์ที่ตู้ MDB จึงทำให้การระบายกระแสไฟกระโชกที่เกิดขึ้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามการระบายกระแสไฟกระโชกจะทำได้ดีและรวดเร็วเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบสายดินที่ทำการติดตั้งนั้นๆ ด้วย กรณีที่บ้านพักอาศัยไม่มีการติดตั้งแท่งกราวด์ที่บริเวณตู้ MDB เมื่อเกิดไฟกระโชกขึ้น ปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกจะทำการดึงไฟกระโชกที่เกิดขึ้นจากสาย Line ผ่านตัวอุปกรณ์ฯ ส่งกลับไปยังสาย Neutral เพื่อไปลงกราวด์ที่แท่งกราวด์ของหม้อแปลงไฟฟ้า หรือที่จุด Multi Point Ground ของการไฟฟ้าบริเวณภายนอกอาคารที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งการระบายกระแสไฟกระโชกจะทำได้ดีและรวดเร็วเพียงใดนั้น ก็ขึ้นกับระยะทางและประสิทธิภาพของแท่งกราวด์ของการไฟฟ้านั้นๆ ด้วย ดังนั้นโดยภาพรวมแล้วประสิทธิภาพของปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกเมื่อเสียบใช้งานร่วมกับปลั๊ก(ที่ผนังกำแพง) แบบ 2 รูที่ไม่มีกราวด์ หรือปลั๊กแบบ 3 รูที่มีกราวด์ ก็จะให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน

กรณีที่ไม่มีการติดตั้งแท่งกราวด์ภายในบ้านบริเวณตู้ MDB จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ฯ ลดลงไปเหลือเพียง 70-80 % เนื่องจากกระแสไฟกระโชกจะถูกนำไปลงกราวด์ที่แท่งกราวด์ของการไฟฟ้าในบริเวณที่อยู่ไกลออกไปนั่นเอง หมายเหตุ การปักแท่งกราวด์ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายแบบและหลายวิธี แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเราขอแนะนำการทำกราวด์แบบแท่งกราวด์ลึก เพราะให้ประสิทธิภาพสูงสุดในสภาพภูมิประเทศแบบประเทศไทย ซึ่งขอสรุปง่ายๆ คือทำการเจาะฝังแท่งกราวด์ที่ความลึกอย่างน้อย 12 เมตรในเขตกรุงเทพฯ หรือที่ความลึกอย่างน้อย 24 เมตรในต่างจังหวัด โดยแท่

Posted in faq
กลับสู่ด้านบน