ไฟกระโชก/ไฟกระชากหรือ Surge มหันตภัยร้ายของระบบไฟฟ้าแห่งยุคโลกาภิวัฒน์

สินค้าแนะนำ

เครื่องป้องกันไฟกระชาก
วิธีป้องกันไฟกระชาก

ในปัจจุบันนี้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆมีขนาดเล็กลง แต่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้นทุกขณะ ซึ่งส่งผลให้อุปกรณ์ที่ทันสมัยเหล่านี้มีความเปราะบางและอ่อนไหวต่อผลกระทบจากไฟกระโชก ที่เข้ามาในระบบไฟฟ้ามากขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกันซึ่งบางท่านอาจเคยมีประสบการณ์กับความเสียหายของอุปกรณ์เหล่านี้โดยไม่ทราบสาเหตุ จึงยังคงทำให้เกิดคำถามที่ติดอยู่ในใจเรื่อยมา ความเสียหายที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีผลกระทบทางตรงกับทรัพย์สินอันมีค่าของท่านและยังอาจส่งผลกระทบทางอ้อมจนบางครั้งยากที่จะประเมินค่าได้ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเสียหายของอุปกรณ์เหล่านี้คือ ไฟกระโชก “ , “ ไฟกระชาก “ หรือ Surge มหันตภัยร้ายที่แอบแฝงเข้ามาในระบบไฟฟ้า โดยที่ท่านไม่รู้ตัว

ไฟกระโชกคืออะไร ? ไฟกระชากคืออะไร ?เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ไฟกระชากคืออะไร

ไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ Surge คือ สภาวะการเกิดไฟเกินแบบเฉียบพลันที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (Loads) ที่ต่อใช้งานอยู่ในระบบไฟฟ้าได้รับความเสียหายอาจจะโดยทันทีหรือทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงตามลำดับไฟกระโชกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเกิดฟ้าผ่าโดยตรงต่อระบบสายส่งไฟฟ้าหรือการเกิดฟ้าผ่าในบริเวณใกล้เคียง , การลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า , การปิด – เปิดของเครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ , การ on-Off ของ Capacitor Bank ของสถานีย่อยไฟฟ้า และจากสาเหตุอื่นๆ เป็นต้น

โดยสรุป กล่าวคือ ส่วนใหญ่เกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ หรืออุบัติเหตุในระบบไฟฟ้า ซึ่งเราไม่สามารถห้ามหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามสภาวะการเกิดไฟกระโชกในระบบไฟฟ้าจริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นมานานแล้วพร้อมๆกับการเกิดของระบบไฟฟ้านั่นเอง แต่ที่เรายังไม่เห็นผลกระทบจากไฟกระโชกที่มีต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มากนัก ก็เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ในสมัยก่อนยังมีขนาดใหญ่ และประสิทธิภาพรวมถึงความซับซ้อนของวงจรไม่สลับซับซ้อนเหมือนในปัจจุบัน จึงทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น สามารถที่จะทนต่อผลกระทบจากสภาวะการเกิดไฟกระโชกได้ ซึ่งแตกต่างจากในปัจจุบัน ที่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มีขนาดเล็ก ในขณะที่มีประสิทธิภาพและความซับซ้อนของวงจรมากขึ้นทุกขณะ โดยแนวโน้ม จะยิ่งมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆเพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น ซึ่งต้องแลกมากับความเปราะบางมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้แนวโน้มความเสียหายรวมถึงความรุนแรงของความเสียหายของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ( ที่เกิดจากไฟกระโชก ) มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวทุกขณะเช่นกัน

ไฟกระโชก ไฟกระชากมีกี่ชนิด ?

ไฟกระชากมีกี่ชนิด

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs )

ซึ่งโดยทั่วไป เราจะรู้จักแค่ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) เท่านั้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น

อย่างไรก็ตามอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพโดยทั่วๆไป จะมีตัวป้องกันไฟกระโชกในลักษณะนี้ติดตั้งอยู่ภายในแล้ว จึงทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ได้รับความปลอดภัยต่อไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ดังนั้นเราจึงอาจกล่าวได้ว่าไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของความเสียหายของอุปกรณ์เหล่านี้

แต่ไฟกระโชกอีกชนิดหนึ่งซึ่งหลายๆท่านอาจยังไม่คุ้นเคยคือ ไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs (Temporary Over Voltages) ซึ่งเป็นการเกิดไฟกระโชกที่มีอยู่จริงในระบบไฟฟ้า

การเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น

ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้ และถือได้ว่าไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้เป็นสาเหตุหลักของความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้าจากไฟกระโชก ซึ่งการป้องกันไฟกระโชกแบบทั่วๆไป เช่นปลั๊กรางไฟฟ้าชนิดมีตัวป้องกันไฟกระโชก หรืออุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกแบบอื่นๆ ที่มีขายทั่วไปในตลาดปัจจุบัน จะมีความสามารถในการป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) แต่ไม่สามารถที่จะป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้ได้ ดังนั้นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ( Loads ) จึงยังคงได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกอยู่เช่นเดิม อย่างใดก็ตามแม้สภาวะการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้เป็นสภาวะการเกิดไฟกระโชกที่เกิดขึ้นจริงในระบบไฟฟ้าแต่ก็พึ่งได้มีการถูกกล่าวถึงอย่างเป็นทางการไว้ในมาตรฐาน IEEE C62.41.1-2002 เรื่อง IEEE Guide on the Surge Environment in Low-Voltage ( 1000 V and Less) AC Power Circuits ฉบับล่าสุดนี้เอง*

แล้วเราจะรับมือกับไฟกระโชก ไฟกระชาก ได้อย่างไร ?

วิธีป้องกันไฟกระชาก

โดยปรกติแล้วเราจะใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก ( Surge Protector) เพื่อติดตั้งในการป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก ที่เข้ามาในระบบไฟฟ้า ซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์ป้องกันในรูปของปลั๊กรางไฟฟ้าป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ จะเป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชากที่ใช้ติดตั้งบริเวณตู้ MDB ก็ตาม ซึ่งก็มีขนาดของการรับไฟกระโชก ไฟกระชาก ให้เลือกได้ตามความเหมาะสม เช่นสามารถรองรับไฟกระโชก ไฟกระชาก ได้ขนาด 15000 แอมแปร์ หรือ 40000 แอมแปร์ (ที่รูปคลื่น 8/20 MicroSec) หรือมากกว่านี้เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ตามที่เราทราบกันดีแล้วว่าไฟกระโชก ไฟกระชาก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชากที่ท่านเลือกใช้ ควรมีคุณสมบัติในการป้องกันไฟกระโชกได้ทั้ง 2 ชนิดในตัวเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นสาเหตุหลักของความเสียหายของอุปกรณ์ฯ จากไฟกระโชกนั่นเอง อย่างไรก็ตามการที่อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ยังขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกเช่นการติดตั้ง แท่งกราวนด์ที่มีประสิทธิภาพ** ที่บริเวณตู้ MDB , การเชื่อมต่อสาย Neutral กับสายกราวนด์ที่ตำแหน่งตู้ MDB ( เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของทางการไฟฟ้า ) การมีระบบป้องกันฟ้าผ่าและแท่งกราวนด์ป้องกันฟ้าผ่าที่ดี** ( เพื่อลดผลกระทบต่อการเกิดไฟกระโชก ไฟกระชาก อันเนื่องจากฟ้าผ่า ) เป็นต้น

แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก ที่ใช้อยู่สามารถป้องกันได้จริง ?

เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก ( Surge Protector ) ไม่เหมือนอุปกรณ์หนือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ทีวี , เครื่องเสียง และ Home Theater เป็นต้น ที่สามารถทดลองใช้งานจริงจนท่านพอใจแล้วจึงตัดสินใจซื้อได้ ดังนั้นที่ผ่านมาเราจึงเพียงได้แต่เชื่อคำโฆษณาของผลิตภัณฑ์หรือจากผู้ขายว่าสามารถใช้ป้องกันไฟกระโชกได้จริงเท่านั้น

บริษัท สตาบิล จำกัด ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ก่อตั้งศูนย์อบรมและทดสอบทางวิศวกรรมอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก และระบบสายดินขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ท่านจึงสามารถนำอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่ใช้งานมาทำการทดสอบความสามารถในการรับไฟกระโชกได้จริงด้วยเครื่องจำลองการเกิดกระแสไฟกระโชกอันทันสมัย จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สามารถจำลองการเกิดไฟกระโชกได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ท่านจึงสามารถมั่นใจในประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกจากการทดสอบจริง โดยไม่ต้องคาดว่าป้องกันได้หรือหวังว่าป้องกันได้อีกต่อไป ทั้งนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิศวกรรมของอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก และระบบสายดิน บริษัท สตาบิล จำกัด จึงได้จัดการอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวให้ทั้งกับองค์กร บริษัท ห้างร้านต่างๆ รวมถึงบุคคลทั่วไปผู้สนใจโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สนใจฟังบรรยาย ติดตามข่าวได้ที่ Line: @stabil หรือ Facebook:Stabil.TH

 

*ตามมาตรฐาน IEC 61643-1 ได้มีการกล่าวถึงหัวข้อการทดสอบ TOVs ไว้ด้วยเช่นกันแต่ก็เป็นหัวข้อที่ใช้ในการทดสอบความทนทานของตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Surge Protector ) ต่อการเกิด TOVs โดยไม่ได้กล่าวถึงความปลอดภัยของ Loads เลย

 

**การปักแท่งกราวนด์ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายแบบและหลายวิธี ซึ่งแท่งกราวนด์ที่มีประสิทธิภาพควรมีคุณสมบัติในการระบายกระแสฟ้าผ่าและไฟกระโชกขนาดใหญ่ลงดินได้ดีในระยะเวลาอันสั้นและส่งผลกระทบจากไฟกระโชกบริเวณผิวดินน้อยที่สุด จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเราขอแนะนำการทำกราวนด์แบบแท่งกราวนด์ลึกเพราะให้ประสิทธิภาพสูงสุดกับสภาพของภูมิประเทศแบบประเทศไทย ซึ่งขอสรุปง่ายๆคือ ทำการเจาะฝังแท่งกราวนด์ที่ความลึกอย่างน้อย 12 เมตร ในเขตกรุงเทพและปริมลฑล หรือที่ความลึกอย่างน้อย 24 เมตร ในต่างจังหวัด โดยแท่งกราวนด์ที่ใช้อาจจะเป็นท่อประปา ( Hot Dip Galvanized ) หรือท่อ Stainless Steel ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาว 6 เมตรต่อท่อน เป็นต้น

 

ลิขสิทธิ์บทความ โดย บริษัท สตาบิล จำกัด

อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก เสิร์จ ( Surge ) ติดตั้งตัวเดียวป้องกันทั้งบ้าน

โฮมแพด (HoPAD) ติดตั้งตัวเดียว ป้องกันทั้งบ้าน

รายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม คลิ๊ก HoPAD

STABIL
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.