การทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดินที่ได้มาตรฐาน ควรทำอย่างไร

การทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดินที่ได้มาตรฐาน ควรทำอย่างไร?

คำถาม : พอดีต้องการทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดิน ที่เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบกราวด์ของทั่วโลก จากที่อ่านข้อมูลจาก websites ต่างประเทศ และข้อมูลจากหลายๆ บริษัท จะต่อกราวด์ของทุกระบบเข้าที่ Building Ground ที่เดียว โดยเน้นว่าต้องเป็นกราวด์จุดเดียว Common Grounding Electrode for All System Grounding in or at a Building, it’s a must. ไม่ว่าจะเป็น กราวด์ของระบบแอร์ ระบบโทรศัพท์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบ UPS etc… โดยให้เหตุผลว่า

1. ถ้ามี Ground หลายอัน จะเกิดกราวด์ลูป, กราวด์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงกราวด์ของระบบฟ้าผ่า ควรรวมเป็นจุดเดียวกัน ที่ Building Ground เป็น Common Ground. – การ jump กราวด์ เข้ากับ neutral มากกว่า 1 จุด ก็จะทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน
2. ถ้ามีฟ้าผ่า แล้วมี ground หลายจุด จะเกิดความต่างศักย์ระหว่าง Ground Rod ทำให้เกิดอันตรายมากๆ จึงกำหนดว่าต้องต่อร่วมกัน Must be connected to the same Earth/Ground electrode system. If separated, there will be gradient between two grounding systems which could lead to flashover or even electric shock.
แต่ บจก.สตาบิล นั้น กราวด์ฟ้าผ่าและกราวด์ของระบบไฟฟ้าแยกจากกัน จะกลับกันกับ 2 ข้อข้างบน ไม่ทราบมีเหตุผลมาหักล้างสองข้อข้างบนอย่างไร

คำตอบ :

1. ระบบกราวด์แบบกราวด์ลึก ซึ่งมีความลึกตั้งแต่ 12 เมตรขึ้นไป ที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้นำเสนอนั้น ได้ระบุให้มีการแยกแท่งกราวด์ระบบ ( SG ) ออกจากแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) อย่างชัดเจน แต่จริงๆ แล้วเมื่อมองให้ลึกเข้าไปถึงการเชื่อมต่อกันทางวงจรไฟฟ้า การทำกราวด์แบบกราวด์ลึกจะมีการเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้าเช่นเดียวกับการทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไป ที่ใช้หลักการของการทำให้เกิด Equip Potential หรือ Same Potential เพื่อไม่ให้เกิดความต่างศักย์ขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งของระบบกราวด์ไฟฟ้าในขณะที่เกิดฟ้าผ่า หรือไฟกระโชก จึงทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบนั้นได้รับความปลอดภัย เพียงแต่การทำกราวด์แบบ บจก. สตาบิล นั้น จะไม่มีการทำ Equip Potential ของแท่งกราวด์ระบบ ( SG ) กับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) ที่ระดับผิวดิน แต่จะไปทำการ Equip Potential ที่ Common Earth หรือจุดศูนย์ร่วมของดินแทน

2. การทำให้เกิด Equip Potential คือการนำจุดเชื่อมต่อกราวด์ต่างๆ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเสมือนให้เป็นจุดๆเดียว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดความต่างศักย์กันทางไฟฟ้าเมื่อมีกระแสฟ้าผ่า หรือกระแสไฟกระโชกขึ้นในระบบฯ ดังนั้นการทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไปจึงระบุให้ต้องทำการเชื่อมต่อระบบกราวด์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น กราวด์ฟ้าผ่า กราวด์ระบบ กราวด์ไฟฟ้าสื่อสาร หรืออื่นๆ และให้เชื่อมต่อเข้ากันกับแท่งกราวด์และโครงสร้างอาคาร ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการ Equip Potential หรือ Same Potential นั่นเอง

3. การทำกราวด์แบบ บจก.สตาบิล นั้น เป็นการทำกราวด์แบบกราวด์ลึกซึ่งจะกำหนดค่าความต้านทานดินของแท่งกราวด์แบบแท่งกราวด์เดี่ยว ให้มีค่าเข้าใกล้ 0 โอห์มมากที่สุด ดังนั้นค่า คตท ดินของแท่งกราวด์ที่วัดได้จึงเป็นค่า คตท ดินของแท่งกราวด์เดี่ยวเทียบกับ Common Earth ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนว่า แท่งกราวด์ระบบ ( SG ) กับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) นั้นได้ถูกเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้า และเกิดการ Equip Potential ณ ที่จุด Common Earth นี้เอง
จากประสบการณ์การที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้จากติดตั้งและปรับปรุงระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและระบบสายดินมามากกว่า 26 ปีที่ผ่านมาพบว่า การทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไปนั้น แม้ว่าค่า คตท ดินรวมของแท่งกราวด์จะต่ำและมีการทำ Equip Potential ของระบบกราวด์ที่ระดับผิวดินแล้วก็ตาม แต่ระบบฯ ก็ยังคงได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกอยู่เป็นจำนวนมาก บริษัทฯ จึงได้ทำการปรับปรุงโดยการติดตั้งระบบกราวด์แบบกราวด์ลึกเป็นการทดแทน และพบว่าระบบไฟฟ้าที่เคยเกิดปัญหานั้น มีเสถียรภาพการทำงานที่ดีขึ้นและไม่ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกที่เคยเกิดขึ้นอีกเลย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกที่อาจเกิดขึ้นกับท่าน การทำกราวด์แบบกราวด์ลึกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทำกราวด์ที่น่าสนใจและให้ผลคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก

Posted in faq
STABIL
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.