Faq SiPAD

New Update 240365

New FAQ 

 ถาม ถ้าปิด Main Circuit Breaker เพื่อตัดไฟทั้งบ้าน แต่ไม่ได้ดึงปลั๊กไฟทีวีและเครื่องเสียงออกด้วย…ถ้าเกิดไฟกระโชก ไฟกระชากหรือฟ้าผ่า Sipad ยังป้องกันได้หรือไม่

ตอบ  SiPAD ยังทำการป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือฟ้าผ่า ได้ถึงแม้จะปิด Main Circuit Breaker หรือไฟฟ้าดับ เพราะหลักการทำงาน ของ SiPAD ทำงานแบบ Passive นั่นหมายความว่า SiPAD ไม่ต้องการไฟเลี้ยงในการทำงาน แต่จะทำงานได้ทันที เมื่อมีไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ ฟ้าผ่า เข้ามาในระบบ
อย่างไรก็ตาม การที่ปิด Main Circuit Breaker เป็นการตัดการเชื่อมต่อ กับสายไฟฟ้าจากภายนอก เป็นการลดความเสี่ยง ที่ไฟกระโชก ไฟกระชาก จากภายนอกจะเข้ามาในระบบฯได้

 

FAQ อื่นๆ

1. ถาม อาคาร / ที่พักอาศัย ไม่มีกราวด์สามารถนำไปใช้เพื่อป้องกันได้หรือไม่

ตอบ    ป้องกันได้ เพราะระบบไฟฟ้าประเทศไทยเป็นแบบ TN-C-S คือ นิวตรอน ( N ) กับ กราวด์ ( G ) เชื่อมต่อถึงกันทางไฟฟ้าที่ตำแหน่งตู้เมนไฟฟ้า ( MDB ) จึงไปลงกราวด์ที่ตู้เมนไฟฟ้า หรือ ไปลงกราวด์ที่หม้อแปลงไฟฟ้าได้

2. ถาม ป้องกันได้ 100% ใช่หรือไม่

ตอบ ไม่สามารถตอบคำถามนี้อย่างชัดเจนได้ เพราะไม่มีใครบอกได้ว่าไฟกระโชก ( Surge )

–  จะมีขนาดความรุนแรงเท่าไหร่ ?

–  จะเกิดนานแค่ไหน ?

–  และจะเกิดขึ้นเมื่อใด ?

ตราบใดที่แรงดันไฟฟ้าอยู่ในระดับปกติ อุปกรณ์ SiPAD จะไม่ทำงาน แต่ถ้าแรงดันไฟฟ้าสูงผิดปกติเกิดขึ้น อุปกรณ์ SiPAD จะทำงานทันทีดังที่อธิบายไว้แล้วในข้อที่ 4 ข้อที่ 5 และข้อที่ 6

 

3. ถาม อุปกรณ์ป้องกันฯ นี้กินไฟฟ้ามากมั้ย

ตอบ  กินไฟน้อยกว่า 0.1 วัตต์ ( คิดเป็นกระแสได้น้อยกว่า 0.005 แอมแปร์ ) กล่าวได้ว่าไม่กินไฟเลย

 

4. ถาม เสียบไปแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ป้องกันฯ ทำงานหรือเปล่า

ตอบ  ขอเปรียบเทียบเหมือนถุงลมนิรภัย (Airbag) ในรถยนต์ ไม่สามารถทราบได้ว่าถุงลมนิรภัย (Airbag) จะพร้อมทำงานอยู่หรือไม่ ถ้ายังไม่เกิดการกระแทกอุบัติเหตุ เช่นเดียวกับอุปกรณ์ Surge Protector ทั่วไป รวมถึงอุปกรณ์ SiPAD ตราบใดที่แรงดันไฟฟ้าอยู่ในระดับปกติ 230 Volt +-15% อุปกรณ์ SiPAD จะไม่ทำงาน แต่ถ้าแรงดันไฟฟ้าสูงผิดปกติเกิดขึ้น อุปกรณ์ SiPAD จะทำงานทันที โดยทำการดักจับและเปลี่ยนเส้นทางกระแสไฟกระโชก (Surge Current) ให้ไหลผ่านตัวมันเอง* แล้วส่งกลับไปยังแหล่งกำเนิดที่มาของความผิดปกตินั้น จึงทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ต่ออยู่กับเต้ารับไฟฟ้านั้น ไม่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม สามารถทำการทดสอบคุณสมบัติในการป้องกันได้ แต่ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการทดสอบ ดูได้จาก VDO การทดสอบ  YouTube

 

* ถ้าไฟกระโชกที่เกิดขึ้น มีขนาดรุนแรงเกินกว่าที่อุปกรณ์ SiPAD จะรับได้ อุปกรณ์ SiPAD จะเสียหาย แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดต่างๆ จะยังคงปลอดภัย แต่ถ้ามีไฟกระโชกเกิดขึ้นตามมาอีกครั้ง (ขณะที่อุปกรณ์ SiPAD เสียอยู่) แน่นอน อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดต่าง ๆ ย่อมเสียหาย ในกรณีนี้ถ้ามีอุปกรณ์ SiPAD ตัวที่ 2 ต่อป้องกันอยู่ในบริเวณใกล้เคียง อุปกรณ์ SiPAD ตัวที่ 2 นี้ จะช่วยป้องกันได้ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะห่างของอุปกรณ์ SiPAD ทั้งสอง

 

5. ถาม มีอะไรรับรอง SiPAD สามารถป้องกันได้จริง

ตอบ  มีการทดสอบด้วยรูปคลื่นมาตรฐาน  Surge Impulse Current ขนาดต่างๆ ในห้อง LAB ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้านวัตกรรมไทย กับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กระทรวงวิทยาศาสตร์ (รายละเอียดตามข้อ 15)

 

6. ถาม ติดตั้งแล้วรับประกันได้ไหม ว่า Load จะไม่พังเสียหาย

ตอบ  SiPAD ก็เปรียบเสมือน การทำงานของ ถุงลม  Airbag หรือ Safety belt  ในรถยนต์ ซึ่งไม่มีผู้ผลิตรถยนต์รายใดสามารถรับรองได้ว่า เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุ คนขับจะไม่ตาย ทั้งนี้เนื่องจากในสถานการจริง ยังมีเงื่อนไขอื่นอีกมากมาย ซึ่งต่างจากการทดสอบในห้อง LAB แต่อย่างไรก็ตามท่านก็สามารถมั่นใจได้ว่า Load ต่างๆ ของท่าน จะได้รับการป้องกันสูงสุดจาก SiPAD ด้วย Stov Technology

 

7. ถาม จะรู้ได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ป้องกันฯ เสีย หรือใช้งานได้ปกติ

ตอบ  มีไฟ LED แสดงสถานะไฟติดคือทำงานปกติ แต่ถ้าไฟ LED ดับ แสดงว่าอุปกรณ์ป้องกันฯ เสีย ดังภาพ

 

 

8. ถาม ความแตกต่างของ SiPAD กับ อุปกรณ์ป้องกันทั่วไป (SPD) มีอะไรบ้าง

ตอบ อุปกรณ์ป้องกัน SiPAD กับ อุปกรณ์ป้องกันทั่วไป (SPD) มีคุณสมบัติและลักษณะของการทำงาน เหมือนกันทุกประการ แต่อุปกรณ์  SiPAD มีคุณสมบัติเด่น ต่างจากอุปกรณ์ป้องกันทั่วไป (SPD) คือ

8.1 มีขนาดเล็ก พกพาง่าย ใช้ได้ในทุกสถานที่ ทุกเวลา

8.2 ติดใช้งานได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่เสียบเข้ากับเต้ารับไฟฟ้าที่ผนังหรือรางปลั๊กพ่วง ก็ใช้งานได้ทันที ไม่มีขั้นตอนซับซ้อน

8.3 ราคาเหมาะสมและคุ้มค่า ในการป้องกันความเสียหายให้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เปราะบางทุกชนิด

(เฉพาะค่าแรงเพียงรายการเดียว ในการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน SPD ทั่วไป (ไม่รวมมูลค่าของอุปกรณ์ป้องกัน SPD ทั่วไป) ก็มีราคาสูงกว่าอุปกรณ์ป้องกัน SiPAD แล้ว)

8.4 ใช้ได้ในทุกองค์กรทั้งขนาดใหญ่ไปจนถึงครัวเรือน

8.5 อุ่นใจด้วย STOV Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มากกว่ามาตรฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไฟกระโชกที่เกิดในระบบไฟฟ้า โดยพัฒนาให้สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ทั้งแบบช่วงสั้น (Transient) และแบบช่วงยาว (TOVs) ได้ในตัวเดียวกัน แต่อุปกรณ์ป้องกันทั่วไป สามารถป้องกันไฟกระโชกได้เพียงแบบเดียว คือ แบบช่วงสั้น (Transient) เท่านั้น

 

9. ถาม อุปกรณ์ SiPAD มีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่

ตอบ มากกว่า 10 ปี ในกรณีมีไฟกระโชกเกิดขึ้น อุปกรณ์ SiPAD จะทำการดักจับและเปลี่ยนเส้นทางกระแสไฟกระโชกให้ไหลผ่านตัวมันเอง (รายละเอียดตามข้อ 7) ดังนั้นถ้าไฟกระโชกที่เกิดขึ้น มีขนาดและความรุนแรงมากกว่าที่อุปกรณ์ SiPAD จะรับได้ อุปกรณ์ SiPAD ก็จะเสียหาย (หลอดไฟ LED จะดับ) ถ้าน้อยกว่าก็จะไม่มีอะไรเสียหาย (หลอดไฟ LED จะสว่างปกติ) โดยประสิทธิภาพในการรับไฟกระโชกยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

 

10. ถาม การรับประกันสินค้าเป็นอย่างไร

ตอบ  รับประกันสินค้า 1 ปี เฉพาะความเสียหายที่เกิดจากการผลิต หรือการใช้งานที่ถูกต้อง เช่น ติดตั้งภายในบ้าน ห้ามติดตั้งใช้งานภายนอก ตากแดด ตากฝน เป็นต้น

 

11. ถาม ถ้ามี Surge Protector ติดตั้งที่ตู้เมนไฟฟ้า (MDB) อยู่แล้ว จำเป็นต้องติด SIPAD เพิ่มเติมอีกหรือไม่ ?

ตอบ ขอยกตัวอย่างบ้านหลังหนึ่ง มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก (Surge Protector) ที่ตำแหน่งตู้เมนไฟฟ้า (MDB)  จะส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมด ภายในบ้านหลังนั้นได้รับความปลอดภัยจากไฟกระโชก (Surge)

แต่เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก (Surge Protector)  ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด โดยส่วนใหญ่จะป้องกันได้เฉพาะไฟกระโชกช่วงสั้น (Transient) เท่านั้น  ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกช่วงยาว (TOVs) ได้ (แต่มีคุณสมบัติทนต่อ TOVs ได้แทน) ดังนั้นถ้ามีไฟกระโชกช่วงยาว (TOVs) เกิดขึ้น อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก (Surge Protector) จะไม่ทำการป้องกัน TOVs (แต่ทนต่อ TOVs ได้) โดยถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในบ้านหลังนี้ทนต่อ TOVs ไม่ได้ ก็จะเสียหาย  ดังที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ จึงขอแนะนำให้เลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก (Surge Protector)  ที่มีคุณสมบัติสามารถป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกช่วงสั้น (Transient) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว (TOVs) ได้ในตัวเดียวกัน (ไม่ใช่สามารถทนต่อ TOVs แต่ต้องป้องกัน TOVs ได้นะครับ)

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก (Surge Protector)  ติดอยู่ที่ตู้เมนไฟฟ้า (MDB) แล้วก็ตาม ถ้ามีการติดอุปกรณ์ป้องกัน SIPAD ที่เต้ารับไฟฟ้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (โหลด) มากที่สุด  ย่อมให้ความปลอดภัยต่อโหลดอย่างสูงสุด  เพราะอยู่ใกล้โหลดมากที่สุด รวมถึงอุปกรณ์ป้องกัน SIPAD  มีคุณสมบัติในการป้องกันทั้ง Transient และ TOVs  ได้ในตัวเดียวกัน ดังนั้นโหลดย่อมได้รับความปลอดภัยอย่างสูงสุด

โดยเปรียบเสมือนมี บอดี้การ์ด ซึ่งอยู่ใกล้หรืออยู่ติดประจำตัว ประธานาธิบดี คอยปกป้อง คุ้มครอง ป้องกันภัย ในทุกสถานที่ อยู่ติดประจำตัวตลอดเวลา  ซึ่งแตกต่างกับที่มี บอดี้การ์ด ยืนป้องกันประจำอยู่ที่หน้าบ้านเท่านั้น

12ถาม SiPAD ได้ มาตรฐาน มอก. หรือไม่ ?

ตอบ  เนื่องจาก SiPAD เป็นสินค้านวัตกรรมใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นที่ใดในโลก และเพิ่งได้รับการเปิดตัวเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมานี้เอง  ซึ่ง SiPAD ได้รับการจดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และ ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้านวัตกรรมไทย กับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กระทรวงวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ยังไม่มี มอก. ที่จะรองรับในส่วนของสินค้านวัตกรรมใหม่นี้

อย่างไรก็ตาม การที่ SiPAD ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้านวัตกรรมไทยนั้น ย่อมต้องถูกทดสอบและตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากหลากหลายสถาบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิเช่น

  • สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI) กระทรวงอุตสาหกรรม
  • ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ห้องทดสอบในต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจาก International Electrical Commission (IEC)

ดังนั้น ท่านจึงมั่นใจได้ว่า SiPAD เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และสามารถป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เปราะบางต่างๆ ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า  ไฟกระโชก ไฟกระชาก ทั้งแบบ ช่วงสั้น และ ช่วงยาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน และมากกว่ามาตรฐานด้วย STOV Technology

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่คิดว่าป้องกันไฟกระโชกได้

  • UPS ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ UPS คือสำรองไฟฟ้าเวลาไฟดับ และตัว UPS เองเปรียบเสมือนเป็นโหลดตัวหนึ่ง ซึ่งอาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ รวมถึงโหลดที่ต่อใช้งานกับ UPS ก็อาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ซึ่ง UPS บางรุ่น ระบุว่า Built-in Surge Protector  เพื่อป้องกันไฟกระโชกแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการเพิ่มอุปกรณ์ MOV ตัวเล็กๆ ในวงจร เพื่อใช้ในการป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient ในเบื้องต้นเท่านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาอุปกรณ์ Surge Protector ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs มาต่อไว้หน้า UPS เพื่อเป็นการป้องกัน UPS ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  • Stabilizer ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Stabilizer คือปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ กรณีเกิด Over voltage หรือ Under voltage แต่ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เนื่องจากไฟกระโชกเกิดขึ้นรวดเร็วมาก (มีความเร็วเศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที) ซึ่งอุปกรณ์ Stabilizer ไม่สามารถตอบสนองได้ทัน ทำให้ตัว Stabilizer รวมถึงโหลดที่ต่อใช้งานกับ Stabilizer ก็อาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ จึงจำเป็นที่จะต้องหาอุปกรณ์ Surge Protector ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs มาต่อไว้หน้า Stabilizer เพื่อเป็นการป้องกัน Stabilizer และโหลดไม่ให้ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  • อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB คือป้องกันไฟดูดไฟรั่ว ซึ่งจะตัดไฟกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเท่านั้นทำให้ผู้ใช้งานไม่ได้รับอันตรายจากการโดนไฟฟ้าดูด ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในการป้องกันไฟกระโชก จึงทำให้โหลดที่ต่อใช้งานอยู่ยังคงได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้

  • Circuit Breaker ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Circuit Breaker ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า ในกรณีไฟฟ้าลัดวงจร หรือ ใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด  ซึ่งอุปกรณ์ Circuit Breaker นี้ทำงานโดยใช้หลักการของ Bi-metal ซึ่งเมื่อเกิดการลัดวงจรไฟฟ้า หรือใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดจะเกิดความร้อนที่โลหะ Bi-metal ซึ่งโลหะ Bi-metal นี้จะโก่งตัวไม่เท่ากันเมื่อเกิดความร้อนและจะตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า ซึ่งคุณลักษณะการทำงานของ Circuit Breaker เช่นนี้ ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เพราะกระแสไฟกระโชก จะต้องไหลผ่าน Circuit Breaker เข้าไปในระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ตัว Circuit Breaker ถึงจะเริ่มเกิดความร้อนแล้วตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) ได้พังเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ Circuit Breaker จะตัดวงจรออก

  • Fuse ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Fuse คือ ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด หรือ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน Fuse มากเกินไป Fuse จะร้อนแล้วขาด เพื่อตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า  ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) พังเสียหายมากไปกว่านี้ หรือ ลุกไหม้ติดไฟได้ ซึ่งคุณลักษณะการทำงานของ Fuse เช่นนี้ ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เพราะกระแสไฟกระโชก จะต้องไหลผ่าน Fuse เข้าไปในระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ตัว Fuse ถึงจะเริ่มเกิดความร้อนแล้วขาดออก นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) ได้พังเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ Fuse จะขาดออก

กลับสู่ด้านบน