สุดสะพรึง! นิวซีแลนด์เจอปรากฎการณ์หายาก “ฟ้าผ่า” กว่า 100,000 ครั้งในรอบสัปดาห์เกิดพายุ สเปน-ทางใต้ฝรั่งเศสโดนฮีทเวฟระลอก 2

 

เอเจนซีส์ – นิวซีแลนด์เจอปรากฎการณ์ที่หายากเกิดปรากฎการณ์ฟ้าผ่าทั่วประเทศทั้งเกาะเหนือและเกาะใต้นับได้ 111,621 ครั้งระหว่างวันที่ 6 มิ.ย-วันที่ 11มิ.ย ชาวกรุงเวลลิงตันสุดแตกตื่นเจอฟ้าผ่าทุกวันตลอดทั้ง 7 วันที่ผ่านมา ขณะที่สเปนและทางตอนใต้ของฝรั่งเศสพบกับคลื่นความร้อนระลอก 2 ผู้เชี่ยวชาญชี้เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติในปีนี้

เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานวันนี้(13 มิ.ย)ว่า แนวปะทะอากาศเย็น หรือ cold front สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินในนิวซีแลนด์ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและพายุทอร์นาโดรวมไปถึงเกิดหิมะตกครั้งใหญ่ที่สกีรีสอร์ท แต่ไม่เท่ากับการเกิดปรากฎการณ์ฟ้าผ่าทั่วประเทศกว่า 100,000 ครั้ง

ปรากฎการณ์สุดประหลาดทางสภาพอากาศนี้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 6 มิ.ย-วันที่ 11มิ.ยที่ผ่านมา โดยผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักงานอุตุนิยมวิทยานิวซีแลนด์ เมตเซอร์วิส( Metservice)ได้เปิดเผยว่าในช่วงเวลาดังกล่าวสามารถนับการเกิดฟ้าผ่าทั่วนิวซีแลนด์และน่านน้ำใกล้เคียงได้ถึง 111,621 ครั้ง

ชาวกรุงเวลลิงตันต่างเป็นประจักษ์พยานในเรื่องนี้ได้อย่างดีเพราะตลอดทั้ง 7 วันที่ผ่านมาพวกเขาต้องตื่นมาเจอฟ้าผ่าทุกวันอย่างน่าสุดสะพรึงพร้อมไปกับการเกิดระหว่างพายุลูกเห็บและลมกระโชกแรงจัดในช่วงเวลาสั้นๆ

ทั้งนี้พบว่าแนวปะทะอากาศเย็นจากมหาสมุทรทางใต้และข้ามทะเลทัสมาเนียได้นำสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจมายังนิวซีแลนด์เป็นเวลาไม่กี่วัน

หนึ่งในเมืองที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงมากที่สุดจากพายุคือเมือง Waikanae ซึ่งเป็นเมืองที่ห่างจากกรุงเวลลิงตันไปทางเหนือราว 50 กิโลเมตรโดยมีรายงานว่าเกิดพายุทอร์นาโด 2 ลูกในคืนวันจันทร์(13)

หลุยส์ เบอร์แมนส์(Louise Buurmans) วัย 91 ปีเป็นหนึ่งในผู้ที่โชคร้ายหลังเพดานบ้านได้รับความเสียหายจากพายุ เธอให้สัมภาษณ์กับ TVNZ ว่า ประสบการณ์ที่เจอมันช่างเลวร้ายมาก

ขณะที่ชาวออกแลนด์ต้องพบกับฝนและลมอย่างหนักในวันจันทร์(13)ส่วนสะพานออกแลนด์ฮาร์เบอร์ (Auckland harbour bridge)ปิดเป็นระยะๆเนื่องมาจากการพัดเข้ามาของลมกระโชกที่มีความแรงของลมสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ส่วนที่เมืองเกรย์มัธ( Greymouth )บนเกาะใต้พบกับน้ำท่วมฉับพลันอย่างไม่คาดฝันเหมือนเช่นเดียวกับชุมชนต่างๆบนชายฝั่งตะวันตก

สภาพอากาศที่ไม่เป็นใจยังเกิดขึ้นที่ยุโรปโดยผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาชี้ว่า คลื่นความร้อนฮีทเวฟเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิมในปีนี้และเกิดบ่อยขึ้นขณะที่อุณหภูมิกำลังไต่ขึ้นสูง

เดอะการ์เดียนรายงานว่า สเปนและภาคใต้ของฝรั่งเศสเผชิญกับคลื่นความร้อนระลอกสองของปี โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศส เมเตโอฟรานซ์( Météo France) แถลงว่า อุณหภูมิสูงเกิน 35 องศาเซลเซียสใกล้กับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และจะสูงขึ้นมากกว่านี้ตั้งแต่กลางสัปดาห์เป็นต้นไปขณะที่มวลความร้อนมุ่งหน้าไปทางเหนือพร้อมไปกับบางพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้และโรน แวลลีย์(Rhone valley)มีอุณหภูมิแตะ 39 องศาเซลเซียสไปแล้ว

นักอุตุนิยอมวิทยาฝรั่งเศส ปาทริค เกลัวส์( Patrick Galois )เปิดเผยว่ากรุงปารีสคาดว่าน่าจะมีอุณหภูมิสูงที่ 35 องศาเซลเซียส

โดยคลื่นความร้อนสูงสุดจะเกิดระหว่างวันพฤหัสบดี(16)ไปถึงวันเสาร์(18) ถือเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดได้น้อยครั้งในเดือนมิถุนายนและหากว่าได้รับการยืนยันจะกลายเป็นว่า ฝรั่งเศสผจญกับฮีทเสฟรอบ 2 เร็วกว่าปกติในปีนี้

ด้านสเปนพบกับคลื่นความร้อนเช่นกัน เดอะการ์เดียนกล่าวว่า สเปนพบกับอุณหภูมิสูงสุดกว่าที่เคยปรากฎในรอบ 20 ปีเป็นอย่างน้อยโดยมีอุณหภูมิถูกวัดได้ที่ 40 องศาเซลเซียสในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่เซบียา (Seville) และ กอร์โดบา (Córdoba )ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียง ส่วนหุบเขากวาดียานา( Guadiana valley )พบกับอุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิ 43 องศาเซลเซียสในพื้นที่อื่นๆทางใต้ของสเปน

โฆษกสำนักงานอุตุนิยมวิทยาสเปน เอเมต( Aemet) กล่าวยืนยันว่า “เรากำลังเผชิญหน้ากับอุณหภูมิสูงที่ไม่ปกติสำหรับเดือนมิถุนายน” พร้อมกับเสริมว่า ปรากฎการณ์ฮีทเวฟนี้ถือว่าเกิดขึ้นเร็วสุดอันดับที่ 3 ของการบันทึกและเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นเร็วนับตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา

นอกเหนือจากคลื่นความร้อนแล้วฝรั่งเศสยังต้องพบกับสภาพแล้งจัดโดย 35 จังหวัดในฝรั่งเศสได้ออกประกาศจำกัดการใช้น้ำก่อนหน้า ขณะที่ทั่วทั้งโปรตุเกสถูกประกาศให้อยู่ในสถานะแล้งขั้นรุนแรงภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม อ้างอิงจากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาโปรตุเกสอิปมา(Ipma)

CR : MGRONLINE

แหล่งที่มา : https://mgronline.com/around/detail/9650000056321

STABIL
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.