คำถามเกี่ยวกับ โฮมแพด HoPAD

New Update 101066

 

FAQ  โฮมแพด (HoPAD) ติดตั้งตัวเดียว ป้องกันทั้งบ้าน

1. ถาม HoPAD คืออะไร ?

โฮมแพด (HoPAD) คืออุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก เสิร์จ (Surge) สำหรับบ้าน ที่อยู่อาศัย โดยติดตั้งที่ตำแหน่งตู้เมนไฟฟ้า (ตู้คอนซูเมอร์ หรือ MDB) เพียงจุดเดียว สามารถป้องกัน เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมดภายในบ้าน เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศ , TV , เครื่องเสียง , ชุดโฮมเธียเตอร์ , คอมพิวเตอร์ , กล้องวงจรปิด CCTV , ตู้เย็น , เครื่องซักผ้า , เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า เป็นต้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก เสิร์จ (Surge) และด้วย Stov Technology ที่สุดของนวัตกรรมป้องกันไฟกระโชกหนึ่งเดียวของสตาบิล ที่สามารถป้องกันไฟกระโชกทั้งแบบช่วงสั้น (Transient) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว (TOVs) ในตัวเดียวกัน ทำให้คุณมั่นใจได้ในการป้องกันอย่างสูงสุด

2. ถาม ความแตกต่างของ โฮมแพด (HoPAD) กับ อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก SPD ทั่วไป มีอะไรบ้าง

โฮมแพด (HoPAD)  มี STOV Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มากกว่ามาตรฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไฟกระโชกที่เกิดในระบบไฟฟ้า โดยพัฒนาให้สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ทั้งแบบช่วงสั้น (Transient) และแบบช่วงยาว (TOVs) ได้ในตัวเดียวกัน แต่อุปกรณ์ป้องกัน SPD ทั่วไป สามารถป้องกันไฟกระโชกได้เพียงแบบเดียว คือ แบบช่วงสั้น (Transient)* เท่านั้น

*อุปกรณ์ป้องกัน SPD ทั่วไปที่มีจำหน่ายในท้องตลาด โดยส่วนใหญ่จะป้องกันได้เฉพาะไฟกระโชกช่วงสั้น (Transient) เท่านั้น  ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกช่วงยาว (TOVs) ได้ ดังนั้นถ้ามีไฟกระโชกช่วงยาว (TOVs) เกิดขึ้น อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก SPD ทั่วไป จะไม่ทำการป้องกัน TOVs (แต่จะทนต่อ TOVs) โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในบ้านหลังนี้ (รวมถึงอุปกรณ์ป้องกัน SPD ทั่วไป) ถ้าทนต่อ TOVs ไม่ได้ ก็จะเสียหาย  ดังที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในปัจจุบัน

สามารถศึกษาความแตกต่าง และนิยาม ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้า และวิธีแก้ปัญหา จาก VDO ด้านล่างนี้

 

3. ถาม อุปกรณ์โฮมแพด (HoPAD) มีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่

มากกว่า 10 ปีในสภาวะการทำงานปรกติ ส่วนในกรณีมีไฟกระโชกเกิดขึ้น อุปกรณ์ HoPAD จะทำการดักจับและเปลี่ยนเส้นทางกระแสไฟกระโชกให้ไหลผ่านตัวมันเอง ดังนั้นถ้าไฟกระโชกที่เกิดขึ้น มีขนาดและความรุนแรงมากกว่าที่อุปกรณ์ HoPAD จะรับได้ อุปกรณ์ HoPAD ก็จะเสียหาย (ดูได้จากสถานะหลอดไฟ LED ในข้อ 9) ถ้าน้อยกว่าก็จะไม่มีอะไรเสียหาย โดยประสิทธิภาพในการรับไฟกระโชกยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

4. ถาม การรับประกันสินค้าเป็นอย่างไร

รับประกันสินค้า 1 ปี และรับเพิ่มอีก 2 ปี เมื่อลงทะเบียน online การรับประกัน เฉพาะความเสียหายที่เกิดจากการผลิต หรือการใช้งานที่ถูกต้อง เช่น ติดตั้งภายในบ้าน ห้ามติดตั้งใช้งานภายนอก ตากแดด ตากฝน เป็นต้น

5. ถาม อาคาร / ที่พักอาศัย ไม่มีกราวด์สามารถนำไปใช้เพื่อป้องกันได้หรือไม่

ป้องกันได้ เพราะระบบไฟฟ้าประเทศไทยเป็นแบบ TN-C-S คือ นิวตรอน (N) กับ กราวด์ (G) เชื่อมต่อถึงกันทางไฟฟ้าที่ตำแหน่งตู้เมนไฟฟ้า (ตู้คอนซูเมอร์ หรือ MDB) จึงไปลงกราวด์ที่ตู้เมนไฟฟ้า หรือ ไปลงกราวด์ที่หม้อแปลงไฟฟ้าได้

6. ถาม ป้องกันได้ 100% หรือไม่

ไม่สามารถตอบคำถามนี้อย่างชัดเจนได้ เพราะไม่มีใครบอกได้ว่าไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ (Surge) ที่เกิดขึ้นนี้

–  จะมีขนาดความรุนแรงเท่าไหร่ ?

–  จะเกิดนานแค่ไหน ?

–  และจะเกิดขึ้นเมื่อใด ?

ตราบใดที่แรงดันไฟฟ้าอยู่ในระดับปกติ อุปกรณ์ HoPAD จะไม่ทำงาน แต่ถ้าแรงดันไฟฟ้าสูงผิดปกติเกิดขึ้น อุปกรณ์ HoPAD จะทำงานทันที

7. ถาม อุปกรณ์ โฮมแพด (HoPAD) กินไฟฟ้ามากมั้ย

กินไฟน้อยกว่า 0.1 วัตต์ (คิดเป็นกระแสได้น้อยกว่า 0.005 แอมแปร์) กล่าวได้ว่าไม่กินไฟเลย

8. ถาม รู้ได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ โฮมแพด (HoPAD) จะทำงานหรือเปล่า

ขอเปรียบเทียบเหมือนถุงลมนิรภัย (Airbag) ในรถยนต์ ไม่สามารถทราบได้ว่าถุงลมนิรภัย (Airbag) จะพร้อมทำงานอยู่หรือไม่ ถ้ายังไม่เกิดการกระแทกอุบัติเหตุ เช่นเดียวกับอุปกรณ์ SPD ทั่วไป รวมถึงอุปกรณ์ HoPAD ตราบใดที่แรงดันไฟฟ้าอยู่ในระดับปกติ 230 Volt +-15% อุปกรณ์ HoPAD จะไม่ทำงาน แต่ถ้าแรงดันไฟฟ้าสูงผิดปกติเกิดขึ้น อุปกรณ์ HoPAD จะทำงานทันที โดยทำการดักจับและเปลี่ยนเส้นทางกระแสไฟกระโชก (Surge Current) ให้ไหลผ่านตัวมันเอง* แล้วส่งกลับไปยังแหล่งกำเนิดที่มาของความผิดปกตินั้น จึงทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ต่ออยู่กับเต้ารับไฟฟ้านั้น ไม่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม สามารถทำการทดสอบคุณสมบัติในการป้องกันได้ แต่ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการทดสอบ

* ถ้าไฟกระโชกที่เกิดขึ้น มีขนาดรุนแรงเกินกว่าที่อุปกรณ์ HoPAD จะรับได้ อุปกรณ์ HoPAD จะเสียหาย แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดต่างๆ จะยังคงปลอดภัย แต่ถ้ามีไฟกระโชกเกิดขึ้นตามมาอีกครั้ง (ขณะที่อุปกรณ์ HoPAD เสียอยู่) แน่นอน อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดต่าง ๆ ย่อมเสียหาย ได้เช่นกัน

9. ถาม จะรู้ได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ โฮมแพด (HoPAD) เสีย หรือใช้งานได้ปกติ

ดูได้จากไฟ LED แสดงสถานะ Power และ Fault  ตามตาราง

10. ถาม ติดตั้งแล้วรับประกันได้ไหม ว่า Load จะไม่พังเสียหาย

โฮมแพด (HoPAD) เป็นอุปกรณ์ป้องกัน ไฟกระโชกทั้งแบบช่วงสั้น และแบบช่วงยาว ที่เหนื่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้าจากภายนอกอาคาร ซึ่งเราไม่สามารถทราบได้เลยว่าฟ้าผ่า ไฟกระโชกจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมีความรุนแรงอย่างไร ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในอาคารเสียหายได้ ก็เปรียบเสมือน การทำงานของ ถุงลม Airbag หรือ Safety belt เพื่อป้องกันคนขับในรถยนต์ ซึ่งไม่มีผู้ผลิตรถยนต์รายใดสามารถรับรองได้ว่า เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันดังกล่าวแล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุ คนขับจะไม่เสียชีวิต ทั้งนี้เนื่องจากในสถานการณ์จริง ยังมีเงื่อนไขอื่นอีกมากมาย ซึ่งต่างจากการทดสอบในห้อง LAB แต่อย่างไรก็ตามท่านก็สามารถมั่นใจได้ว่า Load ต่างๆ ของท่าน จะได้รับการป้องกันสูงสุดจาก HoPAD ด้วย Stov Technology

11. ถาม ถ้าติดตั้ง โฮมแพด (HoPAD) ที่ตู้เมนไฟฟ้า (ตู้คอนซูเมอร์ หรือ MDB) แล้ว จำเป็นต้องติด ไซแพด SIPAD เพิ่มเติมอีกหรือไม่ ?

ขอยกตัวอย่างบ้านหลังหนึ่ง มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก HoPAD ที่ตำแหน่งตู้เมนไฟฟ้า (ตู้คอนซูเมอร์ หรือ MDB)  จะส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมด ภายในบ้านหลังนั้นได้รับความปลอดภัยจากไฟกระโชก (Surge)

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก HoPAD ติดอยู่ที่ตู้เมนไฟฟ้า (ตู้คอนซูเมอร์ หรือ MDB) แล้วก็ตาม ถ้ามีการติดอุปกรณ์ป้องกัน SIPAD ที่เต้ารับไฟฟ้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (โหลด) มากที่สุด  ย่อมให้ความปลอดภัยต่อโหลดอย่างสูงสุด  เพราะอยู่ใกล้โหลดมากที่สุด

โดยเปรียบเสมือนมี บอดี้การ์ด ซึ่งอยู่ใกล้หรืออยู่ติดประจำตัว ประธานาธิบดี คอยปกป้อง คุ้มครอง ป้องกันภัย ในทุกสถานที่ อยู่ติดประจำตัวตลอดเวลา  ซึ่งแตกต่างกับที่มี รปภ. ยืนป้องกันประจำอยู่ที่หน้าบ้านเท่านั้น

VDO แสดงการทำงาน ไซแพด SiPAD และ โฮมแพด HoPAD

12. ถาม โฮมแพด (HoPAD) สามารถป้องกัน ไฟฟ้าติดๆ-ดับๆ ได้หรือไม่ ?

อุปกรณ์ป้องกันโฮมแพด (HoPAD) ทำหน้าที่ในการป้องกันไฟกระโชก (Surge) ได้ทั้งแบบช่วงสั้น (Transient) ที่เกิดจากฟ้าผ่า และแบบช่วงยาว (TOVs) หรือไฟเกินชั่วขณะ ที่เกิดจาก ไฟฟ้าติดๆ-ดับๆ อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, กิ่งไม้พาดสายไฟฟ้า, การ On-Off ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินกระแสสูงๆ และสาเหตุอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านเสียหายได้

ดังนั้นเพื่อความชัดเจน ขอกล่าวว่าอุปกรณ์ป้องกันโฮมแพด (HoPAD) เอง ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าติดๆ-ดับๆ ได้ แต่จะป้องกันไฟกระโชก (Surge) ที่เกิดขึ้นจากไฟฟ้าติดๆ-ดับๆ เพื่อไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เสียหาย แต่ถ้าต้องการไม่ให้เกิดไฟฟ้าติดๆ-ดับๆ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ UPS ในการแก้ปัญหา โดยอุปกรณ์ UPS เป็นอุปกรณ์สำรองไฟที่ต่ออนุกรมกับระบบไฟฟ้าจึงจำเป็นจะต้องเลือกขนาดของ UPS ให้เหมาะสมกับกำลังวัตต์ของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ ด้วย ซึ่งอุปกรณ์ UPS บางรุ่นสามารถป้องกันไฟกระโชกได้แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และอาจเสียหายจากไฟกระโชกได้เช่นกัน

13. ถาม อุปกรณ์ป้องกัน HoPAD ได้รับมาตรฐาน มอก. หรือไม่ ? หรือมีมาตรฐานอะไรรองรับหรือไม่ ?

อุปกรณ์ป้องกัน HoPAD จัดเป็นอุปกรณ์ป้องกัน SPD (Surge Protective Device) ซึ่งในปัจจุบัน ทาง สมอ. ยังไม่ได้มีการกำหนดเลขมาตรฐาน มอก. สำหรับอุปกรณ์ SPD นี้ แต่ให้อ้างอึงการออกแบบ และทดสอบ ตามมาตรฐานสากล IEC ไปก่อน ซึ่งอุปกรณ์ป้องกัน HoPAD ได้รับการออกแบบผลิต และทดสอบ ตามรูปคลื่นมาตรฐานสากล IEC นี้ นอกจากนั้น component ที่ใช้ในตัวอุปกรณ์ป้องกัน HoPAD ยังได้เลือกใช้ Brand TDK( formerly named SIEMENS ) ซึ่งได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากลว่าเป็น component ที่ดีที่สุดแบรนด์หนึ่ง และยังได้รับมาตรฐานความปลอดภัย UL part approved อีกด้วย รวมถึงอุปกรณ์ป้องกัน HoPAD เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO9001 : 2015 โดยมีประสบการณ์ในด้านการผลิต ออกแบบ และติดตั้ง อุปกรณ์ป้องกัน ฟ้าผ่า ระบบสายดิน ไฟกระโชกทั้งแบบช่วงสั้น และไฟกระโชกแบบช่วงยาว มายาวนานกว่า 30 ปี ดังนั้นท่านจึงสามารถมั่นใจในคุณภาพ และมาตรฐานการป้องกันได้อย่างสูงสุด

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่คิดว่าป้องกันไฟกระโชกได้

  • UPS ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ UPS คือสำรองไฟฟ้าเวลาไฟดับ และตัว UPS เองเปรียบเสมือนเป็นโหลดตัวหนึ่ง ซึ่งอาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ รวมถึงโหลดที่ต่อใช้งานกับ UPS ก็อาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ซึ่ง UPS บางรุ่น ระบุว่า Built-in Surge Protector  เพื่อป้องกันไฟกระโชกแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการเพิ่มอุปกรณ์ MOV ตัวเล็กๆ ในวงจร เพื่อใช้ในการป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient ในเบื้องต้นเท่านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาอุปกรณ์ Surge Protector ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs มาต่อไว้หน้า UPS เพื่อเป็นการป้องกัน UPS ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  • Stabilizer ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Stabilizer คือปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ กรณีเกิด Over voltage หรือ Under voltage แต่ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เนื่องจากไฟกระโชกเกิดขึ้นรวดเร็วมาก (มีความเร็วเศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที) ซึ่งอุปกรณ์ Stabilizer ไม่สามารถตอบสนองได้ทัน ทำให้ตัว Stabilizer รวมถึงโหลดที่ต่อใช้งานกับ Stabilizer ก็อาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ จึงจำเป็นที่จะต้องหาอุปกรณ์ Surge Protector ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs มาต่อไว้หน้า Stabilizer เพื่อเป็นการป้องกัน Stabilizer และโหลดไม่ให้ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  • อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB คือป้องกันไฟดูดไฟรั่ว ซึ่งจะตัดไฟกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเท่านั้นทำให้ผู้ใช้งานไม่ได้รับอันตรายจากการโดนไฟฟ้าดูด ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในการป้องกันไฟกระโชก จึงทำให้โหลดที่ต่อใช้งานอยู่ยังคงได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้

 

  • Circuit Breaker ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Circuit Breaker ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า ในกรณีไฟฟ้าลัดวงจร หรือ ใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด  ซึ่งอุปกรณ์ Circuit Breaker นี้ทำงานโดยใช้หลักการของ Bi-metal ซึ่งเมื่อเกิดการลัดวงจรไฟฟ้า หรือใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดจะเกิดความร้อนที่โลหะ Bi-metal ซึ่งโลหะ Bi-metal นี้จะโก่งตัวไม่เท่ากันเมื่อเกิดความร้อนและจะตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า ซึ่งคุณลักษณะการทำงานของ Circuit Breaker เช่นนี้ ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เพราะกระแสไฟกระโชก จะต้องไหลผ่าน Circuit Breaker เข้าไปในระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ตัว Circuit Breaker ถึงจะเริ่มเกิดความร้อนแล้วตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) ได้พังเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ Circuit Breaker จะตัดวงจรออก

  • Fuse ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Fuse คือ ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด หรือ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน Fuse มากเกินไป Fuse จะร้อนแล้วขาด เพื่อตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า  ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) พังเสียหายมากไปกว่านี้ หรือ ลุกไหม้ติดไฟได้ ซึ่งคุณลักษณะการทำงานของ Fuse เช่นนี้ ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เพราะกระแสไฟกระโชก จะต้องไหลผ่าน Fuse เข้าไปในระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ตัว Fuse ถึงจะเริ่มเกิดความร้อนแล้วขาดออก นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) ได้พังเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ Fuse จะขาดออก

 

กลับสู่ด้านบน